อุปกรณ์

การแต่งกาย
เดิม ฝ่ายชายที่ได้รับเชิญไปในงานจะแต่งกายตามแบบพื้นเมือง คือนุ่งกางเกงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง มีผ้านุ่งทับข้างนอกยาวเหนือเข่าเล็กน้อย สวมหมวกแขกสีดำ ผ้าที่ทับข้างนอกจะแสดงฐานะของเจ้าของได้เป็นอย่างดี สังเกตจากการที่นุ่งผ้าถ้ามีฐานะดีก็จะนุ่งผ้าไหมยกดิ้นทอง

รองลงมาก็จะเป็นผ้าฝ้ายธรรมดา จนถึงผ้าโสร่งปาเต๊ะธรรมดา 
ผู้หญิง มักจะแต่งเป็นชุดทั้งโสร่งและเสื้อเป็นดอกสีเดียวกัน และมักมีสีสดๆ ตัวเสื้อแขนยาวผ่าอกตลอดหรือเสื้อคอชวาแขนสามส่วน นุ่งผ้ากรอมเท้ามีผ้าคลุมไหล่ปักดิ้นหรือลูกไม้ตามฐานะ
ปัจจุบันการแต่งกายของนางรำ นิยมแต่งกายแบบหญิงไทยมุสลิมทั่วไป คือ นุ่งผ้าถุงปาเต๊ะ สวมเสื้อยาหยา และนิยมผ้าที่เป็นลูกไม้สีสดใส มีผ้าคล้องคอ สำหรับคณะไหนที่มีผู้ชายจะนิยมแต่งกายแบบชุดพิธีของชายมาลายู คือ นุ่งกางเกงขายาว ใช้ผ้าโสร่งพับครึ่งนุ่งทับกางเกงอีกที ใส่เสื้อแขนยาวนิยมสีขาวหรือสีอ่อน สอดชายไว้ในกางเกง สวมหมวกด
เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ไวโอลีน รำมะนา และฆ้อง
การแสดงรองเง็ง มีการพัฒนาการมาจากการแสดงรองเง็งของมาเลเซีย ในช่วงแรกๆ การละเล่นดังกล่าวไม่ได้นำเครื่องดนตรีมาเล่น ภายหลังมีผู้คิดเครื่องดนตรีขึ้นมาใช้ประกอบจังหวะเพลง คือ รำมะนา และซอ ต่อมาใช้ไวโอลีนแทนซอเป็นเครื่องสายตัวหลักในการบรรเลงท่วงทำนองเพลง 
ไวโอลีน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ใช้คันชักสีเป็นซอที่มีขนาดเล็กที่สุด มีความยาวมาตรฐาน ๒๓.๓๐ นิ้ว ส่วนที่เป็นกะโหลกซอยาว ๑๔ นิ้ว 
รำมะนา มาลายูเรียกราบานา รูปร่างเป็นกลองแบนๆ ขึงด้วยหนังเพียงหน้าเดียว เป็นเครื่องประกอบจังหวะ โดยทั่วไปรำมะนาใช้ทำเสียงประกอบเพลงพื้นเมืองของสเปน ยิบซี อิตาเลียน และแขก ปัจจุบันบางคณะเพิ่มกลองแขกเข้ามาเพื่อให้จังหวะกระซับและชัดเจนขึ้น
ฆ้อง เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของชาวตะวันออก ทำด้วยสัมฤทธิ์มีหลายชนิดหลายขนาด ฆ้องที่ใช้กำกับจังหวะเพลงรองเง็งเป็นฆ้องเดี่ยว มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๓๐ - ๘๐ ซม. เจาะรูร้อยเชือกตรงขอบสำหรับแขวนหรือถือ ปลายไม้ตีหุ้มด้วยหนัง เสียงของฆ้องดังกังวาน ผู้เต้นรองเง็งจะยึดเสียงฆ้องเป็นหลักในการก้าวเท้า แตะเท้าตามลีลาท่าเต้นของเพลงนั้นๆ
สถานที่ในการแสดง 
ในสมัยโบราณศิลปะการแสดงนิยมเล่นบนลานดินกว้าง ๆ หรือตามชายหาด ปัจจุบันเพื่อความสะดวกและนิยมปลูกเวทีเตี้ยขึ้นมาเพื่อความเป็นสัดส่วนสำหรับผู้เล่น

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ที่มาของรูปภาพ : ดนตรีรองเง็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

http://www.prapayneethai.com/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8

%A3%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B9%87%E0%B8%87. (23 มีานคม 2559).

รองเง็งภาคใต้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.biogang.net/expert_view.php?uid=68371&id=10548. (23 มีานคม 2559).

รองเง็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sunareenan21.wordpress.com/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0

%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B9%87%E0%B8%87/. (23 มีานคม 2559).

วัฒนธรรมการแสดง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.tmperformance.org/Detail.php?Id=4. (23 มีานคม 2559).

ที่มาของเนื้อหา : รองเง็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://ich.culture.go.th/index.php/th/ich/performing-arts/236-performance/331-----m-s. (23 มีานคม 2559).